สินค้าที่เลือกมา
สินค้าคู่แข่ง ช็อคโก้พาย |
ภาพด้านในของกล่อง |
ข้อมูลของผลิตภัณฑ์
ชื่อสินค้า : ช็อคโกพาย ขนมสอดไส้ครีมเคลือบช็อคโกแลต
ราคา : 29 บาท
นํ้าหนักสุทธิ : 104 กรัม.
ประเภท สินค้าบริโภค
วัสดุ กล่องผิตภัณฑ์
ผลิตโดย : บริษัท ยูโรเปี้ยนฟู้ด จำ•กัด (มหาชน) 140 หมู่ 4 ถ.ระเบอะไผ่ ต.หนอง โพรง อ.ศรีมหาโพธิ
จ.ปราจีนบุรี 25140 ประเทศไทย
โครงสร้างของบรรจุภัณฑ์
บรรจุภัณฑ์มีลักษณะเป็นสี่เหลียมรูปทรงไม่ได้มาตราฐานมีสี
ชื่อสินค้า : ช็อคโกพาย ขนมสอดไส้ครีมเคลือบช็อคโกแลต
ราคา : 29 บาท
นํ้าหนักสุทธิ : 104 กรัม.
ประเภท สินค้าบริโภค
วัสดุ กล่องผิตภัณฑ์
ผลิตโดย : บริษัท ยูโรเปี้ยนฟู้ด จำ•กัด (มหาชน) 140 หมู่ 4 ถ.ระเบอะไผ่ ต.หนอง โพรง อ.ศรีมหาโพธิ
จ.ปราจีนบุรี 25140 ประเทศไทย
โครงสร้างของบรรจุภัณฑ์
บรรจุภัณฑ์มีลักษณะเป็นสี่เหลียมรูปทรงไม่ได้มาตราฐานมีสี
แดง ขาว เป็นส่วนใหญ่ เครื่องหมายการค้า
อยู่ด้านข้างกล่องฝาปิดเปิดเป็นตัวเดียวกับกล่องโลโก้เน็นตัวหนังสือ เป็นส่วนใหญ่
ส่วนประกอบสำคัญ
ไข่ไก่ 27% น้ำตาล 28%
แป้งสาลี 15%
ไขมันปาล์ม 12%
เนยขาว 10%
นมผง 5%
ผงโกโก้ 2.8%
น้ำมันปาล์ม 2.2%
ข้อมูลโภชนาการ
หนึ่งหน่วยบริโภค : 1 ซอง (18 กรัม) จำนวนหน่วยบริโภคต่อซอง : 1
พลังงานทั้งหมด 90 กิโลแคลอรี (พลังงานจากไขมัน 45 กิโลแคลอรี)
คุณค่าทางโภชนาการ*
ไขมันทั้งหมด 5 ก. 8% ไขมันอิ่มตัว 2 ก. 10%
โคเลสเตอรอล 10 มก. 3% โปรตีน 1 ก.
คาร์โบไฮเดรตทั้งหมด 11 ก. 4% ใยอาการ 0 ก. น้ำ•ตาล 7 ก.
โซเดียม 30 มก. 1%
ร้อยละของปริมาณที่แนะนำ•ต่อวัน*
วิตามินบี 2<2% แคลเซียม< 2% เหล็ก <2%
ร้อยละของปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคต่อวันสำ•หรับคนไทยอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป (Thai RDI) โดยคิดจากความต้องการพลังงานวันล่ะ 2,000 กิโลแคลอรี
พลังงานทั้งหมด 90 กิโลแคลอรี (พลังงานจากไขมัน 45 กิโลแคลอรี)
คุณค่าทางโภชนาการ*
ไขมันทั้งหมด 5 ก. 8% ไขมันอิ่มตัว 2 ก. 10%
โคเลสเตอรอล 10 มก. 3% โปรตีน 1 ก.
คาร์โบไฮเดรตทั้งหมด 11 ก. 4% ใยอาการ 0 ก. น้ำ•ตาล 7 ก.
โซเดียม 30 มก. 1%
ร้อยละของปริมาณที่แนะนำ•ต่อวัน*
วิตามินบี 2<2% แคลเซียม< 2% เหล็ก <2%
ร้อยละของปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคต่อวันสำ•หรับคนไทยอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป (Thai RDI) โดยคิดจากความต้องการพลังงานวันล่ะ 2,000 กิโลแคลอรี
แบบสเก็ตด้วยมือ
แบบร่างสเก็ต |
แบบร่างสเก็ต |
เครื่องหมายการค้า |
เครื่องหมาย ฮาลาล ที่มา http://www.healthfood.co.th/upload/kb/t_3.jpg |
เครื่องหมาย ฮาลาล
เครื่องหมายฮาลาลที่ถูกต้องตามระบบการรับรองของคณะกรรมการกลางอิสลามแห่ง ประเทศไทยประกอบด้วย3 องค์ประกอบ
1. คําว่า “ฮาลาล” ภาษาอาหรับ ในสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ซึ่งมีพื้นหลังเป็นแถบเส้นตรงแนวดิ่ง
2. ชื่อองค์กรรับรอง - “สนง. คณะกรรมการ กลางอิสลามแห่งประเทศไทย” หรือTheCentral Islamic Committee of Thailand” แสดงว่าเป็นเครื่องหมายฮาลาลที่ไม่ผ่านการ ตรวจรับรอง เนื่องจากทางสานักจุฬาราชมนตรี ได้มอบหน้าที่การตรวจรับรองฮาลาลแก่คณะ กรรมการกลางอิสลามตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 แล้ว
1. คําว่า “ฮาลาล” ภาษาอาหรับ ในสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ซึ่งมีพื้นหลังเป็นแถบเส้นตรงแนวดิ่ง
2. ชื่อองค์กรรับรอง - “สนง. คณะกรรมการ กลางอิสลามแห่งประเทศไทย” หรือTheCentral Islamic Committee of Thailand” แสดงว่าเป็นเครื่องหมายฮาลาลที่ไม่ผ่านการ ตรวจรับรอง เนื่องจากทางสานักจุฬาราชมนตรี ได้มอบหน้าที่การตรวจรับรองฮาลาลแก่คณะ กรรมการกลางอิสลามตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 แล้ว
3. หมายเลขผลิตภัณฑ์ 12 หลัก ที่ได้จากการ รับรองฮาลาล ถ้าเป็นตัวเลขในระบบเก่า (ซึ่ง ผ่านการตรวจรับรองเช่นเดียวกัน) จะใช้ละดับที่ ของบริษัท ตามด้วยปีที่เริ่มขอรับรอง
เครื่องหมาย บาร์โค้ด ที่มา http://t2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcT44CNgnqApSHBT d5kNWeP0iHaxpGACum_Q19fs0LGsknhxvfsn_qf0oPO6wg |
เครื่องอ่านบาร์โค้ด
(อังกฤษ: barcode reader)
เพื่อสะดวกในการเช็คสินค้าคงเหลือรวมไปถึงการคิดเงินนั่นเองเครื่องอ่านรหัสเรา เครื่องอ่านบาร์โค้ดมีหลายรูปเช่นแบบมีด้ามจับคล้ายปืนหรือบางแบบก็ฝังในแท่น ของเครื่องเก็บเงินสดเลย พบเห็นได้ตามจุดบริการขาย (POS - Point Of Sale) ในร้าน อาหาร ร้านสะดวกซื้อ หรือห้างสรรพสินค้าทั่วไป
บาร์โค้ด-Barcode
หรือรหัสแท่ง ลักษณะเป็นแท่งขนานดำ-ขาว หมายถึงระบบสัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายประจำตัวสินค้าซึ่งเป็นเลขรหัส เป็นภาษาสากลที่ใช้เพื่อสื่อหรือบ่งบอกถึงประเทศผู้ผลิต บริษัทที่ผลิต ชนิดของสินค้า ราคาสินค้า เพื่อให้เกิความสะดวกแก่ผู้ผลิตและผู้ประกอบการในการตรวจสอบสินค้า ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิต การเก็บ การจัดจำหน่าย กำหนดนโยบายการตลาด
กำเนิดบาร์โค้ดเริ่มเมื่อพ.ศ.2513 สหรัฐอเมริกาจัดตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจทางด้านพาณิชย์ขึ้นสำหรับค้นคว้ารหัสมาตรฐานและสัญลักษณ์ที่สามารถช่วยกิจการด้านอุตสาหกรรม เรื่อยมาถึงพฤษภาคม 2516 คณะกรรมการจัดพิมพ์บาร์โค้ดระบบ UPC-Uniform Product Code ขึ้น สำหรับติดบนสินค้าต่างๆ ส่วนในวงการอุตสาหกรรมใช้สำหรับควบคุมยอดการขายและสินค้าคงคลัง
ปี 2518 กลุ่มประเทศยุโรปจัดตั้งคณะกรรมการด้านวิชาการเพื่อสร้างระบบบาร์โค้ดเรียกว่า EAN-European Article Numbering สมาคม EAN เติบโตครอบคลุมยุโรปและประเทศอื่นๆ (ยกเว้นอเมริกาเหนือ) เปลี่ยนชื่อเป็น The International Article Numbering Association แต่อักษรย่อยังคงใช้ EAN ระบบบาร์โค้ด EAN เข้ามาในประเทศไทย พ.ศ.2530 ปัจจุบันสิทธิ์การเป็นนายทะเบียนรับสมัครสมาชิกจดทะเบียนบาร์โค้ดเป็นของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ประโยชน์ของบาร์โค้ด ด้านผู้ผลิต ได้ทราบถึงแหล่งที่มาของสินค้า ข้อมูลยอดขาย และส่งเสริมการขายได้รวดเร็ว ควบคุมการขายได้ดี ป้องกันสินค้าขาด ด้านผู้ค้าส่ง กระตุ้นทั้งระบบให้รวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการสั่งซื้อสินค้า การรับ-ส่งสินค้า ควบคุมสินค้าคงคลัง ด้านผู้ค้าปลีก ป้องกันการติดราคาผิด เก็บเงินได้เร็วขึ้น ประหยัดแรงงานพนักงาน บริการลูกค้าได้ดีขึ้น ด้านผู้บริโภค ป้องกันการผิดพลาดเวลาชำระเงิน ได้รับบริการเร็วขึ้น มีรายละเอียดของสินค้าที่ซื้อ
การใช้ก็ไม่ยาก เพียงนำตัวเลขของผู้ผลิตและผู้ประกอบการที่กำหนดขึ้นมา แปลงเป็นรหัสคอมพิวเตอร์ กำหนดเป็นสัญลักษณ์แท่งดำสลับขาวที่มีขนาดต่างกันพิมพ์ติดบนตัวสินค้า การอ่านรหัส กระทำได้โดยนำแถบบาร์โค้ดหรือรหัสแท่งไปผ่านสแกนเนอร์ซึ่งเชื่อมโยงกับคอมพิวเตอร์ที่มีรายละเอียดของสินค้า เมื่อสแกนเนอร์อ่านและรับรู้รหัสจากความแตกต่างของแถบดำ-ขาวที่หนาบางต่างกัน ก็จะส่งผ่านไปยังคอมพิวเตอร์เพื่อประมวลผลข้อมูลที่อ่านได้จากบาร์โค้ด โดยมีรายละเอียดของประเภทสินค้า ราคาจำหน่าย ส่งตรงไปยังจุดขายและพิมพ์ใบเสร็จออกมาในทันที
การใช้รหัสแท่งช่วยให้เกิดความสะดวกและความถูกต้องในการอ่านข้อมูล ปัจจุบันยังมีประยุกต์ใช้งานการบริหารงานบุคคล งานจัดเก็บเอกสาร จัดการวัสดุคงคลัง การยืมและคืนหนังสือในห้องสมุด ใช้ติดตามการผลิตและการส่งสินค้า ในบางประเทศนำรหัสแท่งมาใช้ในบัตรประจำตัว ใช้แสดงตัวผู้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ในบางงานวิจัยมีการพิมพ์รหัสแท่งขนาดเล็กติดบนตัวผึ้งเพื่อใช้ติดตามการพัฒนาของผึ้งเหล่านั้น
บาร์โค้ด-Barcode
หรือรหัสแท่ง ลักษณะเป็นแท่งขนานดำ-ขาว หมายถึงระบบสัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายประจำตัวสินค้าซึ่งเป็นเลขรหัส เป็นภาษาสากลที่ใช้เพื่อสื่อหรือบ่งบอกถึงประเทศผู้ผลิต บริษัทที่ผลิต ชนิดของสินค้า ราคาสินค้า เพื่อให้เกิความสะดวกแก่ผู้ผลิตและผู้ประกอบการในการตรวจสอบสินค้า ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิต การเก็บ การจัดจำหน่าย กำหนดนโยบายการตลาด
กำเนิดบาร์โค้ดเริ่มเมื่อพ.ศ.2513 สหรัฐอเมริกาจัดตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจทางด้านพาณิชย์ขึ้นสำหรับค้นคว้ารหัสมาตรฐานและสัญลักษณ์ที่สามารถช่วยกิจการด้านอุตสาหกรรม เรื่อยมาถึงพฤษภาคม 2516 คณะกรรมการจัดพิมพ์บาร์โค้ดระบบ UPC-Uniform Product Code ขึ้น สำหรับติดบนสินค้าต่างๆ ส่วนในวงการอุตสาหกรรมใช้สำหรับควบคุมยอดการขายและสินค้าคงคลัง
ปี 2518 กลุ่มประเทศยุโรปจัดตั้งคณะกรรมการด้านวิชาการเพื่อสร้างระบบบาร์โค้ดเรียกว่า EAN-European Article Numbering สมาคม EAN เติบโตครอบคลุมยุโรปและประเทศอื่นๆ (ยกเว้นอเมริกาเหนือ) เปลี่ยนชื่อเป็น The International Article Numbering Association แต่อักษรย่อยังคงใช้ EAN ระบบบาร์โค้ด EAN เข้ามาในประเทศไทย พ.ศ.2530 ปัจจุบันสิทธิ์การเป็นนายทะเบียนรับสมัครสมาชิกจดทะเบียนบาร์โค้ดเป็นของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ประโยชน์ของบาร์โค้ด ด้านผู้ผลิต ได้ทราบถึงแหล่งที่มาของสินค้า ข้อมูลยอดขาย และส่งเสริมการขายได้รวดเร็ว ควบคุมการขายได้ดี ป้องกันสินค้าขาด ด้านผู้ค้าส่ง กระตุ้นทั้งระบบให้รวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการสั่งซื้อสินค้า การรับ-ส่งสินค้า ควบคุมสินค้าคงคลัง ด้านผู้ค้าปลีก ป้องกันการติดราคาผิด เก็บเงินได้เร็วขึ้น ประหยัดแรงงานพนักงาน บริการลูกค้าได้ดีขึ้น ด้านผู้บริโภค ป้องกันการผิดพลาดเวลาชำระเงิน ได้รับบริการเร็วขึ้น มีรายละเอียดของสินค้าที่ซื้อ
การใช้ก็ไม่ยาก เพียงนำตัวเลขของผู้ผลิตและผู้ประกอบการที่กำหนดขึ้นมา แปลงเป็นรหัสคอมพิวเตอร์ กำหนดเป็นสัญลักษณ์แท่งดำสลับขาวที่มีขนาดต่างกันพิมพ์ติดบนตัวสินค้า การอ่านรหัส กระทำได้โดยนำแถบบาร์โค้ดหรือรหัสแท่งไปผ่านสแกนเนอร์ซึ่งเชื่อมโยงกับคอมพิวเตอร์ที่มีรายละเอียดของสินค้า เมื่อสแกนเนอร์อ่านและรับรู้รหัสจากความแตกต่างของแถบดำ-ขาวที่หนาบางต่างกัน ก็จะส่งผ่านไปยังคอมพิวเตอร์เพื่อประมวลผลข้อมูลที่อ่านได้จากบาร์โค้ด โดยมีรายละเอียดของประเภทสินค้า ราคาจำหน่าย ส่งตรงไปยังจุดขายและพิมพ์ใบเสร็จออกมาในทันที
การใช้รหัสแท่งช่วยให้เกิดความสะดวกและความถูกต้องในการอ่านข้อมูล ปัจจุบันยังมีประยุกต์ใช้งานการบริหารงานบุคคล งานจัดเก็บเอกสาร จัดการวัสดุคงคลัง การยืมและคืนหนังสือในห้องสมุด ใช้ติดตามการผลิตและการส่งสินค้า ในบางประเทศนำรหัสแท่งมาใช้ในบัตรประจำตัว ใช้แสดงตัวผู้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ในบางงานวิจัยมีการพิมพ์รหัสแท่งขนาดเล็กติดบนตัวผึ้งเพื่อใช้ติดตามการพัฒนาของผึ้งเหล่านั้น
เครื่องหมาย “Thailand : Land of Diversity & Refinement” ที่มา http://www.jcc2u.com/jcc2006/imagenews/thailandbran.jpg |
เครื่องหมาย “Thailand : Land of Diversity & Refinement”
ปัจจุบัน นอกจากตราสัญลักษณ์สินค้าไทย หรือ Thailand’s Brand จะเป็นที่รู้จักและเล็งเห็นคุณค่าอย่างกว้างขวางของผู้ประกอบการผลิตและส่งออกสินค้าไทยแล้ว สัญลักษณ์ Thailand’s Brand ยังยึดหัวหาดในต่างประเทศเพิ่มขึ้น ล่าสุด บริษัท Kreyenhop & Kluge Gmbh & Co Food Import ประเทศเยอรมนี ได้ขออนุญาตใช้สัญลักษณ์ตราสินค้าไทย ติดประดับบนรถบรรทุกสินค้าของบริษัทฯ อีกด้วย
ลองไปย้อนดูกันหน่อยว่า Thailand’s Brand มีความเป็นมาอย่างไร และกรมส่งเสริมการส่งออก ได้สนับสนุน ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการส่งออกไทยหันมาใช้ Thailand’s Brand กันด้วยวิธีใดบ้าง
ย้อนหลังไปเมื่อเดือน มี.ค.2542 คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจ ได้มีมติเห็นชอบแผนพัฒนาและส่งเสริมการส่งออกของกระทรวงพาณิชย์ ที่ได้เสนอกลยุทธ์สำคัญ ได้แก่ การเร่งสร้างขีดความสามารถทางการค้าของไทยในตลาดโลก ด้วยการสร้างภาพลักษณ์ประเทศไทยและสินค้าไทย
นางจันทรา บูรณฤกษ์ อธิบดรกรมส่งเสริมการส่งออก กล่าวว่า ในการสร้างภาพลักษณ์ของประเทศไทยและสินค้าไทย มุ่งเน้นการสร้างทัศนคติและภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทยโดยรวม (Country Image) และของสินค้าไทย (Product Image) ผ่านการผลิตด้วยฝีมือที่ประณีต พิถีพิถัน ซึ่งได้รับการถ่ายทอดจากจากบรรพบุรุษ และถือเป็นจุดเด่นของสินค้าไทย
โดยใช้สัญลักษณ์ “ตราประเทศไทย” หรือ Country Logo ซึ่งมีคำว่า “Thailand : Land of Diversity & Refinement” และสัญลักษณ์ “ตราสินค้าไทย” หรือ Product Logo ซึ่งมีคำว่า “Thailand : Diversity & Refinement” เป็นสื่อในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
วัตถุประสงค์ของโครงการฯ ก็เพื่อสร้างภาพลักษณ์ประเทศไทย ให้เกิดเป็นภาพที่ชัดเจนในใจของผู้ซื้อ ผู้บริโภคทั่วโลกว่า ไทยเป็นแหล่งผลิตสินค้าและบริการที่มีความหลากหลาย และพิถีพิถันในการผลิตและให้บริการ ส่งเสริมให้บริษัทผู้ส่งออกไทยใช้สัญลักษณ์ตราสินค้าไทย หรือ Thailand’s Brand กับสินค้าและบรรจุภัณฑ์ในการส่งออกอย่างกว้างขวางและแพร่หลาย
อีกทั้ง เพื่อเป็นการผลักดันให้สัญลักษณ์ตราสินค้าไทย หรือ Thailand’s Brand เป็นที่รู้จักและนิยมของผู้นำเข้า ผู้ซื้อ และผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อมุ่งให้ Thailand’s Brand เป็น Citizen Brand ในที่สุด และเพื่อช่วยรับรองแก่ผู้ซื้อ ผู้บริโภคว่าสินค้าที่มีสัญลักษณ์ตราสินค้าไทยเป็นสินค้าที่มีความพิถีพิถันในทุกขั้นตอนการผลิต
หลังจากที่กรมส่งเสริมการส่งออก ได้มีการเปิดตัวโครงการฯ เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 มี.ค.2542 จากนั้น ได้มีการดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างภาพลักษณ์ของประเทศไทยและสินค้าไทยสู่สายตาชาวโลก รวมทั้งการเปิดตัวในต่างประเทศเป็นครั้งที่ประเทศญี่ปุ่น และในประเทศอื่น ๆ ตามมา
ขณะเดียวกัน กรมส่งเสริมการส่งออก ยังได้เผยแพร่สัญลักษณ์ตราประเทศไทยและตราสินค้าไทย ควบคู่ไปกับการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการส่งออกต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น ในงานแสดงสินค้าที่กรมส่งเสริมการส่งออกจัดขึ้นทั้งในและต่างประเทศ ตลอดจนได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานราชการอื่นๆ ในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ตราสัญลักษณ์ดังกล่าวเป็นอย่างดี
ในส่วนของการจัดงานแสดงสินค้าที่กรมส่งเสริมการส่งออกจัดขึ้น ก็ได้มีการเผยแพร่ตราสัญลักษณ์ประเทศไทยและสินค้าไทยอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากยิ่งขึ้น เช่น การจัดงานแสดงสินค้าสัญลักษณ์ตราสินค้าไทย การเปิดบูธตอบข้อซักถามของผู้ส่งออกและประชาชนที่สนใจเข้าร่วมโครงการฯ ในงานต่างๆ เช่น งานวันส่งเสริมการส่งออกไทย งานบีโอไอแฟร์ งานอะเมซิ่ง ไทยแลนด์ แกรนด์เซลส์ รวมทั้ง การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ ทั้ง โทรทัศน์ วิทยุ สื่อสิ่งพิมพ์ อินเทอร์เน็ต สถานีโทรทัศน์ต่างประเทศ เช่น CNN, CNBC, Discovery สื่อสิ่งพิมพ์ต่างประเทศ เช่น Forbe. Fortune เป็นต้น
นอกจากนี้ กรมส่งเสริมการส่งออก เห็นว่าธุรกิจร้านอาหาร/ภัตตาคารไทย เป็นธุรกิจที่มีศักยภาพในการพัฒนาให้ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับทั่วโลกได้ จึงได้จัดทำโครงการให้ตรารับรอง Thailand’s Brand แก่ร้านอาหารไทยทั่วโลกที่ได้มาตรฐานตามที่กรมฯ กำหนด รวมทั้ง ได้ขอความร่วมมือจากสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ และสถานเอกอัครราชทูตไทยในต่างประเทศ ในการคัดเลือกร้านอาหาร/ภัตตาคารไทยในต่างประเทศที่ได้มาตรฐาน เข้าร่วมโครงการใช้ Thailand’s Brand อีกด้วย
นับตั้งแต่ปี 2542 จนถึงปัจจุบัน มีผู้ส่งออกไทยที่ได้รับอนุญาตให้ใช้สัญลักษณ์ตราสินค้าไทยจำนวน 948 ราย ใน 20 หมวดสินค้า ได้แก่ อาหารและเครื่องดื่ม เครื่องสำอางและเครื่องมือแพทย์ ของขวัญและของตกแต่งบ้าน ของใช้ในบ้าน เฟอร์นิเจอร์ ของเล่น เคหะสิ่งทอ ผลิตภัณฑ์พลาสติกและยาง เครื่องเขียนและสิ่งพิมพ์ วัสดุก่อสร้างและเครื่องมือ บรรจุภัณฑ์ ชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์ สิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องหนังและรองเท้า เครื่องจักรกลและอุปกรณ์ และสินค้าอื่น ๆ
นอกจากการดำเนินกิจกรรมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สัญลักษณ์ประเทศไทยและสินค้าไทยอย่างต่อเนื่องทั้งในประเทศและต่างประเทศแล้ว กรมส่งเสริมการส่งออก ยังมีแผนที่จะประชาสัมพันธ์สัญลักษณ์ “แบรนด์ประเทศไทย” และ “ตราสินค้าไทย” ผ่านสื่ออื่นๆ และประสานงานกับการสื่อสารแห่งประเทศไทย เพื่อจัดทำแสตมป์รูปสัญลักษณ์ Thailand’s Brand และพิมพ์ลงในไปรษณียบัตร
รวมทั้ง ร่วมมือกับภาคเอกชนในการจัดตั้งสมาคมสร้างตราผลิตภัณฑ์ไทย และคาดว่าจะมีมาตรการส่งเสริมอื่น ๆ แก่ผู้ส่งออกที่ได้รับอนุญาตในการสร้างและพัฒนา “ตราสินค้าของเอกชน” หรือ Individual Brand สู่ตลาดต่างประเทศต่อไป
เครื่องหมาย อย ที่มา http://www.classifiedthai.com/content.php?article=15897 |
เครื่องหมาย อย.
เครื่องหมาย อย. นับเป็นเหตุผลหนึ่งที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่นำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินใจ เลือกบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ เพราะเข้าใจว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองจาก อย.แล้ว แต่รู้หรือไม่ว่าผลิตภัณฑ์สุขภาพบางชนิด กฎหมายไม่ได้กำหนดให้ต้องแสดงเครื่องหมาย อย.บนฉลาก
ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ยังคงพบว่ามีปัญหาการลักลอบจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ผิดกฎหมาย และก่อให้เกิดอันตรายอย่างมากต่อผู้บริโภค คือ ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง
ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพที่อยู่ในการกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ซึ่งกฎหมายกำหนดให้เครื่องสำอางทุกชนิดจัดเป็นเครื่องสำอางควบคุม โดยผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าต้องมาทำการจดแจ้งต่อ อย.ก่อนออกวางจำหน่าย แต่ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางทุกชนิดจะไม่มีการแสดงเครื่องหมาย อย.บนฉลากผลิตภัณฑ์ อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคอาจยังพบฉลากเครื่องสำอางบางชนิดที่ยังคงมีเครื่องหมาย อย.บนฉลาก เช่น ยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปากที่มีฟลูออไรด์ ผลิตภัณฑ์ดัดผม ยืดผม เป็นต้น เนื่องจากเครื่องสำอางดังกล่าว แต่ก่อนจัดอยู่ในกลุ่มของเครื่องสำอางควบคุมพิเศษ แม้จะมีการปรับกฎหมายใหม่แล้ว แต่ อย.ยังคงผ่อนผันให้ผู้ประกอบการรายเดิมใช้ฉลากที่มีเครื่องหมาย อย. ได้จนถึง 31 ธันวาคม 2553 นี้
สำหรับ ปัญหาที่พบในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง คือ ผู้ขายมักใช้ข้อความโฆษณาที่เป็นการ โอ้อวดสรรพคุณเกินจริง ซึ่งจะพบมากในผลิตภัณฑ์ทาสิว ฝ้า ที่ทำให้หน้าขาว เช่น “ใช้แล้วขาวบริ๊ง ดูดซึมเร็ว เห็นผลทันใจ” “ช่วยปรับ ผิวขาวเร่งด่วนได้ใน 2 สัปดาห์ เห็นผลจริง” “ทำให้ผิวหน้าสะอาดล้ำลึก ขาวใส เปล่งปลั่ง นุ่มเนียน กระชับ จนคุณรู้สึกได้เลยเมื่อแรกใช้” เป็นต้น โดยมักอ้างว่าขึ้นทะเบียนกับ อย.แล้ว ซึ่งจริง ๆ แล้ว การที่ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้ามาจดแจ้งผลิตภัณฑ์ต่อ อย. เป็นเพียงการแจ้งสูตร ส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ให้ อย.ทราบว่าไม่มีส่วนผสมที่เป็นอันตราย แต่ไม่ได้เป็นการรับรองในส่วนของการโฆษณา ดังนั้น ในการเลือกซื้อเครื่องสำอางให้ปลอดภัย ผู้บริโภคควรเชื่อสรรพคุณเฉพาะที่มีระบุบนฉลากเท่านั้น ไม่ใช่การโฆษณา และควรดูว่ามีฉลากภาษาไทยที่ระบุรายละเอียดที่ครบถ้วน ได้แก่ ชื่อและประเภทผลิตภัณฑ์ ส่วนประกอบสำคัญ วิธีใช้ ชื่อและที่ตั้งแหล่งผลิต วันเดือนปีที่ผลิต และปริมาณสุทธิ รวมถึงควรเลือกซื้อจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ
โดยสรุปแล้ว ผู้บริโภคไม่ควรคำนึงถึงแต่เครื่องหมาย อย. บนผลิตภัณฑ์สุขภาพหรือพิจารณาแต่ว่าผ่าน อย.แล้ว หรือขึ้นทะเบียนกับ อย.แล้วเท่านั้น แต่สิ่งสำคัญ คือ ผู้บริโภคควรอ่านข้อมูลบนฉลากส่วนอื่น ๆ ด้วย และใช้ข้อมูลบนฉลากให้เป็นประโยชน์ก่อนการพิจารณาตัดสินใจซื้อ ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริโภคได้รับผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยและมีคุณภาพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น