วันพุธที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2555

ส.1 (สืบค้น) การศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์


สินค้าที่เลือกมา
ที่มา mintra-arti3314
สินค้าคู่แข่ง ช็อคโก้พาย

   

ที่มา mintra-arti3314
ภาพด้านในของกล่อง



ข้อมูลของผลิตภัณฑ์ 
ชื่อสินค้า : ช็อคโกพาย ขนมสอดไส้ครีมเคลือบช็อคโกแลต
ราคา : 29 บาท
นํ้าหนักสุทธิ : 104 กรัม.
ประเภท สินค้าบริโภค
วัสดุ กล่องผิตภัณฑ์
ผลิตโดย : บริษัท ยูโรเปี้ยนฟู้ด จำ•กัด (มหาชน) 140 หมู่ 4 ถ.ระเบอะไผ่ ต.หนอง โพรง อ.ศรีมหาโพธิ
จ.ปราจีนบุรี 25140 ประเทศไทย
โครงสร้างของบรรจุภัณฑ์
บรรจุภัณฑ์มีลักษณะเป็นสี่เหลียมรูปทรงไม่ได้มาตราฐานมีสี 
แดง ขาว เป็นส่วนใหญ่ เครื่องหมายการค้า
อยู่ด้านข้างกล่องฝาปิดเปิดเป็นตัวเดียวกับกล่องโลโก้เน็นตัวหนังสือ เป็นส่วนใหญ่
ส่วนประกอบสำคัญ
ไข่ไก่ 27%
น้ำตาล 28%
แป้งสาลี 15%
ไขมันปาล์ม 12%
เนยขาว 10%
นมผง 5%
ผงโกโก้ 2.8%
น้ำมันปาล์ม 2.2%

ข้อมูลโภชนาการ
หนึ่งหน่วยบริโภค : 1 ซอง (18 กรัม) จำนวนหน่วยบริโภคต่อซอง : 1
พลังงานทั้งหมด 90 กิโลแคลอรี (พลังงานจากไขมัน 45 กิโลแคลอรี)
ุณค่าทางโภชนาการ*
ไขมันทั้งหมด 5 ก. 8% ไขมันอิ่มตัว 2 ก. 10%
โคเลสเตอรอล 10 มก. 3% โปรตีน 1 ก.
คาร์โบไฮเดรตทั้งหมด 11 ก. 4% ใยอาการ 0 ก. น้ำ•ตาล 7 ก.
โซเดียม 30 มก. 1%
ร้อยละของปริมาณที่แนะนำ•ต่อวัน*
วิตามินบี 2<2%     แคลเซียม< 2%       เหล็ก <2% 
ร้อยละของปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคต่อวันสำ•หรับคนไทยอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป (Thai RDI) โดยคิดจากความต้องการพลังงานวันล่ะ 2,000 กิโลแคลอรี



แบบสเก็ตด้วยมือ
แบบร่างสเก็ต
แบบร่างสเก็ต


ที่มา mintra-arti3314
เครื่องหมายการค้า

เครื่องหมาย ฮาลาล
ที่มา http://www.healthfood.co.th/upload/kb/t_3.jpg

เครื่องหมาย ฮาลาล
เครื่องหมายฮาลาลที่ถูกต้องตามระบบการรับรองของคณะกรรมการกลางอิสลามแห่ง ประเทศไทยประกอบด้วย3 องค์ประกอบ
1. คําว่า “ฮาลาล” ภาษาอาหรับ ในสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ซึ่งมีพื้นหลังเป็นแถบเส้นตรงแนวดิ่ง
2. ชื่อองค์กรรับรอง - “สนง. คณะกรรมการ กลางอิสลามแห่งประเทศไทย” หรือTheCentral Islamic Committee of Thailand” แสดงว่าเป็นเครื่องหมายฮาลาลที่ไม่ผ่านการ ตรวจรับรอง เนื่องจากทางสานักจุฬาราชมนตรี ได้มอบหน้าที่การตรวจรับรองฮาลาลแก่คณะ กรรมการกลางอิสลามตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 แล้ว 
3. หมายเลขผลิตภัณฑ์ 12 หลัก ที่ได้จากการ รับรองฮาลาล ถ้าเป็นตัวเลขในระบบเก่า (ซึ่ง ผ่านการตรวจรับรองเช่นเดียวกัน) จะใช้ละดับที่ ของบริษัท ตามด้วยปีที่เริ่มขอรับรอง



mintra-arti3314
เครื่องหมาย บาร์โค้ด
ที่มา http://t2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcT44CNgnqApSHBTd5kNWeP0iHaxpGACum_Q19fs0LGsknhxvfsn_qf0oPO6wg

เครื่องอ่านบาร์โค้ด
(อังกฤษ: barcode reader)

เพื่อสะดวกในการเช็คสินค้าคงเหลือรวมไปถึงการคิดเงินนั่นเองเครื่องอ่านรหัสเรา เครื่องอ่านบาร์โค้ดมีหลายรูปเช่นแบบมีด้ามจับคล้ายปืนหรือบางแบบก็ฝังในแท่น ของเครื่องเก็บเงินสดเลย พบเห็นได้ตามจุดบริการขาย (POS - Point Of Sale) ในร้าน อาหาร ร้านสะดวกซื้อ หรือห้างสรรพสินค้าทั่วไป
บาร์โค้ด-Barcode 
หรือรหัสแท่ง ลักษณะเป็นแท่งขนานดำ-ขาว หมายถึงระบบสัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายประจำตัวสินค้าซึ่งเป็นเลขรหัส เป็นภาษาสากลที่ใช้เพื่อสื่อหรือบ่งบอกถึงประเทศผู้ผลิต บริษัทที่ผลิต ชนิดของสินค้า ราคาสินค้า เพื่อให้เกิความสะดวกแก่ผู้ผลิตและผู้ประกอบการในการตรวจสอบสินค้า ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิต การเก็บ การจัดจำหน่าย กำหนดนโยบายการตลาด
กำเนิดบาร์โค้ดเริ่มเมื่อพ.ศ.2513 สหรัฐอเมริกาจัดตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจทางด้านพาณิชย์ขึ้นสำหรับค้นคว้ารหัสมาตรฐานและสัญลักษณ์ที่สามารถช่วยกิจการด้านอุตสาหกรรม เรื่อยมาถึงพฤษภาคม 2516 คณะกรรมการจัดพิมพ์บาร์โค้ดระบบ UPC-Uniform Product Code ขึ้น สำหรับติดบนสินค้าต่างๆ ส่วนในวงการอุตสาหกรรมใช้สำหรับควบคุมยอดการขายและสินค้าคงคลัง
ปี 2518 กลุ่มประเทศยุโรปจัดตั้งคณะกรรมการด้านวิชาการเพื่อสร้างระบบบาร์โค้ดเรียกว่า EAN-European Article Numbering สมาคม EAN เติบโตครอบคลุมยุโรปและประเทศอื่นๆ (ยกเว้นอเมริกาเหนือ) เปลี่ยนชื่อเป็น The International Article Numbering Association แต่อักษรย่อยังคงใช้ EAN ระบบบาร์โค้ด EAN เข้ามาในประเทศไทย พ.ศ.2530 ปัจจุบันสิทธิ์การเป็นนายทะเบียนรับสมัครสมาชิกจดทะเบียนบาร์โค้ดเป็นของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ประโยชน์ของบาร์โค้ด ด้านผู้ผลิต ได้ทราบถึงแหล่งที่มาของสินค้า ข้อมูลยอดขาย และส่งเสริมการขายได้รวดเร็ว ควบคุมการขายได้ดี ป้องกันสินค้าขาด ด้านผู้ค้าส่ง กระตุ้นทั้งระบบให้รวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการสั่งซื้อสินค้า การรับ-ส่งสินค้า ควบคุมสินค้าคงคลัง ด้านผู้ค้าปลีก ป้องกันการติดราคาผิด เก็บเงินได้เร็วขึ้น ประหยัดแรงงานพนักงาน บริการลูกค้าได้ดีขึ้น ด้านผู้บริโภค ป้องกันการผิดพลาดเวลาชำระเงิน ได้รับบริการเร็วขึ้น มีรายละเอียดของสินค้าที่ซื้อ
การใช้ก็ไม่ยาก เพียงนำตัวเลขของผู้ผลิตและผู้ประกอบการที่กำหนดขึ้นมา แปลงเป็นรหัสคอมพิวเตอร์ กำหนดเป็นสัญลักษณ์แท่งดำสลับขาวที่มีขนาดต่างกันพิมพ์ติดบนตัวสินค้า การอ่านรหัส กระทำได้โดยนำแถบบาร์โค้ดหรือรหัสแท่งไปผ่านสแกนเนอร์ซึ่งเชื่อมโยงกับคอมพิวเตอร์ที่มีรายละเอียดของสินค้า เมื่อสแกนเนอร์อ่านและรับรู้รหัสจากความแตกต่างของแถบดำ-ขาวที่หนาบางต่างกัน ก็จะส่งผ่านไปยังคอมพิวเตอร์เพื่อประมวลผลข้อมูลที่อ่านได้จากบาร์โค้ด โดยมีรายละเอียดของประเภทสินค้า ราคาจำหน่าย ส่งตรงไปยังจุดขายและพิมพ์ใบเสร็จออกมาในทันที
การใช้รหัสแท่งช่วยให้เกิดความสะดวกและความถูกต้องในการอ่านข้อมูล ปัจจุบันยังมีประยุกต์ใช้งานการบริหารงานบุคคล งานจัดเก็บเอกสาร จัดการวัสดุคงคลัง การยืมและคืนหนังสือในห้องสมุด ใช้ติดตามการผลิตและการส่งสินค้า ในบางประเทศนำรหัสแท่งมาใช้ในบัตรประจำตัว ใช้แสดงตัวผู้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ในบางงานวิจัยมีการพิมพ์รหัสแท่งขนาดเล็กติดบนตัวผึ้งเพื่อใช้ติดตามการพัฒนาของผึ้งเหล่านั้น


เครื่องหมาย “Thailand : Land of Diversity & Refinement”
ที่มา http://www.jcc2u.com/jcc2006/imagenews/thailandbran.jpg


เครื่องหมาย “Thailand : Land of Diversity & Refinement”
ปัจจุบัน นอกจากตราสัญลักษณ์สินค้าไทย หรือ Thailand’s Brand จะเป็นที่รู้จักและเล็งเห็นคุณค่าอย่างกว้างขวางของผู้ประกอบการผลิตและส่งออกสินค้าไทยแล้ว สัญลักษณ์ Thailand’s Brand ยังยึดหัวหาดในต่างประเทศเพิ่มขึ้น ล่าสุด บริษัท Kreyenhop & Kluge Gmbh & Co Food Import ประเทศเยอรมนี ได้ขออนุญาตใช้สัญลักษณ์ตราสินค้าไทย ติดประดับบนรถบรรทุกสินค้าของบริษัทฯ อีกด้วย

       ลองไปย้อนดูกันหน่อยว่า Thailand’s Brand มีความเป็นมาอย่างไร และกรมส่งเสริมการส่งออก ได้สนับสนุน ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการส่งออกไทยหันมาใช้ Thailand’s Brand กันด้วยวิธีใดบ้าง
       ย้อนหลังไปเมื่อเดือน มี.ค.2542 คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจ ได้มีมติเห็นชอบแผนพัฒนาและส่งเสริมการส่งออกของกระทรวงพาณิชย์ ที่ได้เสนอกลยุทธ์สำคัญ ได้แก่ การเร่งสร้างขีดความสามารถทางการค้าของไทยในตลาดโลก ด้วยการสร้างภาพลักษณ์ประเทศไทยและสินค้าไทย
       นางจันทรา บูรณฤกษ์ อธิบดรกรมส่งเสริมการส่งออก กล่าวว่า ในการสร้างภาพลักษณ์ของประเทศไทยและสินค้าไทย มุ่งเน้นการสร้างทัศนคติและภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทยโดยรวม (Country Image) และของสินค้าไทย (Product Image) ผ่านการผลิตด้วยฝีมือที่ประณีต พิถีพิถัน ซึ่งได้รับการถ่ายทอดจากจากบรรพบุรุษ และถือเป็นจุดเด่นของสินค้าไทย
       โดยใช้สัญลักษณ์ “ตราประเทศไทย” หรือ Country Logo ซึ่งมีคำว่า “Thailand : Land of Diversity & Refinement” และสัญลักษณ์ “ตราสินค้าไทย” หรือ Product Logo ซึ่งมีคำว่า “Thailand : Diversity & Refinement” เป็นสื่อในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
       วัตถุประสงค์ของโครงการฯ ก็เพื่อสร้างภาพลักษณ์ประเทศไทย ให้เกิดเป็นภาพที่ชัดเจนในใจของผู้ซื้อ ผู้บริโภคทั่วโลกว่า ไทยเป็นแหล่งผลิตสินค้าและบริการที่มีความหลากหลาย และพิถีพิถันในการผลิตและให้บริการ ส่งเสริมให้บริษัทผู้ส่งออกไทยใช้สัญลักษณ์ตราสินค้าไทย หรือ Thailand’s Brand กับสินค้าและบรรจุภัณฑ์ในการส่งออกอย่างกว้างขวางและแพร่หลาย
       อีกทั้ง เพื่อเป็นการผลักดันให้สัญลักษณ์ตราสินค้าไทย หรือ Thailand’s Brand เป็นที่รู้จักและนิยมของผู้นำเข้า ผู้ซื้อ และผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อมุ่งให้ Thailand’s Brand เป็น Citizen Brand ในที่สุด และเพื่อช่วยรับรองแก่ผู้ซื้อ ผู้บริโภคว่าสินค้าที่มีสัญลักษณ์ตราสินค้าไทยเป็นสินค้าที่มีความพิถีพิถันในทุกขั้นตอนการผลิต
       หลังจากที่กรมส่งเสริมการส่งออก ได้มีการเปิดตัวโครงการฯ เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 มี.ค.2542 จากนั้น ได้มีการดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างภาพลักษณ์ของประเทศไทยและสินค้าไทยสู่สายตาชาวโลก รวมทั้งการเปิดตัวในต่างประเทศเป็นครั้งที่ประเทศญี่ปุ่น และในประเทศอื่น ๆ ตามมา
       ขณะเดียวกัน กรมส่งเสริมการส่งออก ยังได้เผยแพร่สัญลักษณ์ตราประเทศไทยและตราสินค้าไทย ควบคู่ไปกับการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการส่งออกต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น ในงานแสดงสินค้าที่กรมส่งเสริมการส่งออกจัดขึ้นทั้งในและต่างประเทศ ตลอดจนได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานราชการอื่นๆ ในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ตราสัญลักษณ์ดังกล่าวเป็นอย่างดี 
       ในส่วนของการจัดงานแสดงสินค้าที่กรมส่งเสริมการส่งออกจัดขึ้น ก็ได้มีการเผยแพร่ตราสัญลักษณ์ประเทศไทยและสินค้าไทยอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากยิ่งขึ้น เช่น การจัดงานแสดงสินค้าสัญลักษณ์ตราสินค้าไทย การเปิดบูธตอบข้อซักถามของผู้ส่งออกและประชาชนที่สนใจเข้าร่วมโครงการฯ ในงานต่างๆ เช่น งานวันส่งเสริมการส่งออกไทย งานบีโอไอแฟร์ งานอะเมซิ่ง ไทยแลนด์ แกรนด์เซลส์ รวมทั้ง การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ ทั้ง โทรทัศน์ วิทยุ สื่อสิ่งพิมพ์ อินเทอร์เน็ต สถานีโทรทัศน์ต่างประเทศ เช่น CNN, CNBC, Discovery สื่อสิ่งพิมพ์ต่างประเทศ เช่น Forbe. Fortune เป็นต้น
       นอกจากนี้ กรมส่งเสริมการส่งออก เห็นว่าธุรกิจร้านอาหาร/ภัตตาคารไทย เป็นธุรกิจที่มีศักยภาพในการพัฒนาให้ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับทั่วโลกได้ จึงได้จัดทำโครงการให้ตรารับรอง Thailand’s Brand แก่ร้านอาหารไทยทั่วโลกที่ได้มาตรฐานตามที่กรมฯ กำหนด รวมทั้ง ได้ขอความร่วมมือจากสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ และสถานเอกอัครราชทูตไทยในต่างประเทศ ในการคัดเลือกร้านอาหาร/ภัตตาคารไทยในต่างประเทศที่ได้มาตรฐาน เข้าร่วมโครงการใช้ Thailand’s Brand อีกด้วย
       นับตั้งแต่ปี 2542 จนถึงปัจจุบัน มีผู้ส่งออกไทยที่ได้รับอนุญาตให้ใช้สัญลักษณ์ตราสินค้าไทยจำนวน 948 ราย ใน 20 หมวดสินค้า ได้แก่ อาหารและเครื่องดื่ม เครื่องสำอางและเครื่องมือแพทย์ ของขวัญและของตกแต่งบ้าน ของใช้ในบ้าน เฟอร์นิเจอร์ ของเล่น เคหะสิ่งทอ ผลิตภัณฑ์พลาสติกและยาง เครื่องเขียนและสิ่งพิมพ์ วัสดุก่อสร้างและเครื่องมือ บรรจุภัณฑ์ ชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์ สิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องหนังและรองเท้า เครื่องจักรกลและอุปกรณ์ และสินค้าอื่น ๆ
        นอกจากการดำเนินกิจกรรมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สัญลักษณ์ประเทศไทยและสินค้าไทยอย่างต่อเนื่องทั้งในประเทศและต่างประเทศแล้ว กรมส่งเสริมการส่งออก ยังมีแผนที่จะประชาสัมพันธ์สัญลักษณ์ “แบรนด์ประเทศไทย” และ “ตราสินค้าไทย” ผ่านสื่ออื่นๆ และประสานงานกับการสื่อสารแห่งประเทศไทย เพื่อจัดทำแสตมป์รูปสัญลักษณ์ Thailand’s Brand และพิมพ์ลงในไปรษณียบัตร
       รวมทั้ง ร่วมมือกับภาคเอกชนในการจัดตั้งสมาคมสร้างตราผลิตภัณฑ์ไทย และคาดว่าจะมีมาตรการส่งเสริมอื่น ๆ แก่ผู้ส่งออกที่ได้รับอนุญาตในการสร้างและพัฒนา “ตราสินค้าของเอกชน” หรือ Individual Brand สู่ตลาดต่างประเทศต่อไป




เครื่องหมาย อย
ที่มา http://www.classifiedthai.com/content.php?article=15897

เครื่องหมาย อย. 
เครื่องหมาย อย. นับเป็นเหตุผลหนึ่งที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่นำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินใจ เลือกบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ เพราะเข้าใจว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองจาก อย.แล้ว แต่รู้หรือไม่ว่าผลิตภัณฑ์สุขภาพบางชนิด กฎหมายไม่ได้กำหนดให้ต้องแสดงเครื่องหมาย อย.บนฉลาก 
 ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ยังคงพบว่ามีปัญหาการลักลอบจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ผิดกฎหมาย และก่อให้เกิดอันตรายอย่างมากต่อผู้บริโภค คือ ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง 
ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพที่อยู่ในการกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ซึ่งกฎหมายกำหนดให้เครื่องสำอางทุกชนิดจัดเป็นเครื่องสำอางควบคุม โดยผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าต้องมาทำการจดแจ้งต่อ อย.ก่อนออกวางจำหน่าย แต่ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางทุกชนิดจะไม่มีการแสดงเครื่องหมาย อย.บนฉลากผลิตภัณฑ์ อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคอาจยังพบฉลากเครื่องสำอางบางชนิดที่ยังคงมีเครื่องหมาย อย.บนฉลาก เช่น ยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปากที่มีฟลูออไรด์ ผลิตภัณฑ์ดัดผม ยืดผม เป็นต้น เนื่องจากเครื่องสำอางดังกล่าว แต่ก่อนจัดอยู่ในกลุ่มของเครื่องสำอางควบคุมพิเศษ แม้จะมีการปรับกฎหมายใหม่แล้ว แต่ อย.ยังคงผ่อนผันให้ผู้ประกอบการรายเดิมใช้ฉลากที่มีเครื่องหมาย อย. ได้จนถึง 31 ธันวาคม 2553 นี้ 
สำหรับ ปัญหาที่พบในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง คือ ผู้ขายมักใช้ข้อความโฆษณาที่เป็นการ      โอ้อวดสรรพคุณเกินจริง ซึ่งจะพบมากในผลิตภัณฑ์ทาสิว ฝ้า ที่ทำให้หน้าขาว เช่น “ใช้แล้วขาวบริ๊ง ดูดซึมเร็ว เห็นผลทันใจ” “ช่วยปรับ ผิวขาวเร่งด่วนได้ใน 2 สัปดาห์ เห็นผลจริง” “ทำให้ผิวหน้าสะอาดล้ำลึก ขาวใส เปล่งปลั่ง นุ่มเนียน กระชับ จนคุณรู้สึกได้เลยเมื่อแรกใช้” เป็นต้น โดยมักอ้างว่าขึ้นทะเบียนกับ อย.แล้ว ซึ่งจริง ๆ แล้ว การที่ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้ามาจดแจ้งผลิตภัณฑ์ต่อ อย. เป็นเพียงการแจ้งสูตร ส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ให้ อย.ทราบว่าไม่มีส่วนผสมที่เป็นอันตราย แต่ไม่ได้เป็นการรับรองในส่วนของการโฆษณา ดังนั้น ในการเลือกซื้อเครื่องสำอางให้ปลอดภัย ผู้บริโภคควรเชื่อสรรพคุณเฉพาะที่มีระบุบนฉลากเท่านั้น ไม่ใช่การโฆษณา และควรดูว่ามีฉลากภาษาไทยที่ระบุรายละเอียดที่ครบถ้วน ได้แก่ ชื่อและประเภทผลิตภัณฑ์ ส่วนประกอบสำคัญ วิธีใช้ ชื่อและที่ตั้งแหล่งผลิต วันเดือนปีที่ผลิต และปริมาณสุทธิ รวมถึงควรเลือกซื้อจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ 
โดยสรุปแล้ว ผู้บริโภคไม่ควรคำนึงถึงแต่เครื่องหมาย อย. บนผลิตภัณฑ์สุขภาพหรือพิจารณาแต่ว่าผ่าน อย.แล้ว หรือขึ้นทะเบียนกับ อย.แล้วเท่านั้น แต่สิ่งสำคัญ คือ ผู้บริโภคควรอ่านข้อมูลบนฉลากส่วนอื่น ๆ ด้วย และใช้ข้อมูลบนฉลากให้เป็นประโยชน์ก่อนการพิจารณาตัดสินใจซื้อ ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริโภคได้รับผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยและมีคุณภาพ







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น